Sunday, September 16, 2012

พรีไบโอติก (Prebiotics) จุลินทรีย์เพื่อสุขภาพ

ในระบบทางเดินอาหารของร่างกายนั้น มีกลุ่มของจุลินทรีย์ที่มีชีวิตทั้งดีและไม่ดี เยอะแยะไปหมด วันนี้มีเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายของเรามาฝากจ้า ...

พรีไบโอติก

Prebiotic: Health Food
อ.ภญ.ดร.สุญาณี พงษ์ธนานิกร
ภาควิชาอาหารเคมี คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ปัจจุบันผู้บริโภคพยายามมองหาอาหารที่มีคุณสมบัติต่างๆ มากขึ้น ในแง่ของการมีคุณค่าทางอาหารสูง มีความปลอดภัย และส่งผลดีต่อสุขภาพ โดยส่วนมากการศึกษาจะเน้นไปที่อวัยวะหรือระบบต่างๆ ได้แก่ เมแทบอลิซึมของไขมัน ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย การต้านอนุมูลอิสระ ความดันโลหิตและระบบการย่อยและดูดซึมอาหาร อาหารเหล่านี้เรียกว่า อาหารฟังก์ชัน (functional Food)1 ซึ่งมีผู้ให้คำจำกัดความว่า เป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่เมื่อบริโภคเข้าสู่ร่างกายแล้ว จะสามารถทำหน้าที่อื่นให้กับร่างกาย นอกเหนือจาก ในเรื่องของรสสัมผัส (Sensory function) การให้คุณค่าทางโภชนาการที่จำเป็นแก่ร่างกาย (Nutritive function) ตลอดจนหน้าที่อื่น ๆ (Non-nutritive physiological function) กล่าวได้ว่าลักษณะเฉพาะของอาหารฟังก์ชัน ให้ผลดีต่อสุขภาพ มีสภาพเป็นผลิตภัณฑ์อาหารอย่างแท้จริง อาจเป็นอาหารจากธรรมชาติหรือไม่ก็ได้ และสามารถจะบริโภคเป็นอาหารประจำได้ มีส่วนประกอบ ที่ให้ผลโดยตรงในการเสริมการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย

ลำไส้ใหญ่เป็นอวัยวะเป้าหมายหนึ่งในการศึกษาเกี่ยวกับอาหารฟังก์ชัน อาหารที่ไม่ถูกย่อยในทางเดินอาหารส่วนบน จะผ่านมายังลำไส้ใหญ่และส่งผลดีต่อสุขภาพ ได้แก่ โพรไบโอติก (probiotic) พรีไบโอติก (prebiotic) และซินไบโอติก (synbiotic)

โพรไบโอติก คือ กลุ่มของจุลินทรีย์ที่มีชีวิต ซึ่งเข้าไปอยู่ในระบบทางเดินอาหารของมนุษย์และสัตว์ แล้วก่อให้ เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ โดยจุลินทรีย์ นั้นทำหน้าที่สมดุลของสภาพแวดล้อมในระบบลำไส้

พรีไบโอติก คือ ช่วยปรับส่วนของอาหารที่ไม่ถูกย่อยในทางเดินอาหารซึ่งมีผลทำให้กระตุ้นการเจริญของแบคทีเรียบางชนิดในลำไส้ใหญ่ ซึ่งบางทีคำจำกัดความจะคาบเกี่ยวกับกับใยอาหาร (dietary fiber) สิ่งที่แตกต่างกันคือจะมีความเฉพาะเจาะจงกับแบคทีเรีย บางชนิดเท่านั้น

ซินไบโอติก เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีทั้งโพรไบโอติกและ พรีไบโอติก ในปัจจุบันมีการประยุกต์นำสารที่มีคุณสมบัติดังกล่าวนี้มาเติมในอาหารเพื่อเพิ่มคุณค่า ได้แก่ผลิตภัณฑ์นม ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสำหรับเด็ก ผลิตภัณฑ์น้ำผลไม้ ผลิตภัณฑ์ธัญพืชต่าง ๆ เป็นต้น

พรีไบโอติก
ภาพประกอบ : www.DrNature.com



พรีไบโอติก (Prebiotics)
เป็นส่วนประกอบของอาหารที่ไม่ถูกย่อยในทางเดินอาหารและมีผลต่อสุขภาพ2-4โดยการไปกระตุ้นการเจริญเติบโตและ/หรือการออกฤทธิ์ของแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่กลุ่มจำเพาะหรือจำนวนหนึ่ง พบได้ทั่วไปในพืชผักผลไม้หลายชนิด ได้แก่ หัวหอม กล้วย ธัญพืช ถั่ว กระเทียม อาร์ทิโชก (artichoke) ชิคอรี (chicory) หน่อไม้ฝรั่ง (asparagus) เป็นต้น องค์ประกอบในอาหารเหล่านี้ที่จัดเป็นพรีไบติก ได้แก่ อินนูลิน (inulin) ฟรุกโตโอลิโกแซคคาไรด์ (fructo-oligosaccharide) ไซโลโอลิโกแซคคาไรด์ (xylo-oligosaccharide) และกาแลคโตโอลิโกแซคคาไรด์ (galacto-oligosaccharide)

ประโยชน์ต่อสุขภาพที่กล่าวอ้างของพรีไบโอติก ได้แก่ ช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบทางเดินอาหารมีผลต่อการดูดซึมเกลือแร่บางชนิด และมีผลต่อ เมแทบอลิซึมของไขมัน ซึ่งสามารถอธิบายได้ดังนี้

1. ผลต่อระบบทางเดินอาหาร
พรีไบโอติก จะทนต่อการย่อยในทางเดินอาหารส่วนบนของมนุษย์ เมื่อมาถึงลำไส้ใหญ่ก็จะเป็นอาหารให้กับแบคทีเรียในลำไส้ ซึ่งเมื่อแบคทีเรีย นำไปใช้ก็จะให้พลังงาน และสาระสำคัญบางอย่างแก่ร่างกาย ตัวอย่าง เช่น inulin-type fructans ให้กรดแลกติก (lactic acid) และ กรดไขมันชนิดสายสั้น
(short-chain fatty acids) ซึ่งเป็นผลิตผลจากกระบวนการหมัก (fermentation) ซึ่งการหมักนี้จะทำให้มีการกระตุ้นการเจริญของ bifidobacteria ซึ่งเป็นกลุ่มจุลินทรีย์สุขภาพ และในสภาวะความเป็นกรดที่เกิดขึ้นจะช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของ Clostridium perfringens, Salmonella spp. และ Esherichia coli ในลำไส้ จึงช่วยป้องกันท้องเสียท้องเดิน โดยเฉพาะจากการติดเชื้อได้ นอกจากนี้ ด้วยคุณสมบัติคล้ายใยอาหารอื่น ๆ ก็จะช่วยบรรเทาอาการท้องผูก เนื่องจากผลของการเพิ่มน้ำหนักของอุจจาระและผลต่อการเคลื่อนไหวของลำไส้ จึงช่วยให้ขับถ่ายง่ายขึ้น นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาถึงผลของพรีไบโอติกในการต้านมะเร็ง (anticarcinogenic effect) ซึ่งก็สามารถนำผลที่มีต่อทางเดินอาหารมาอธิบายได้เช่นกัน7-9 ซ้อน

2. ผลต่อการดูดซึมแร่ธาตุบางชนิด
ปกติพวกใยอาหารหรือพรีไบโอติกนี้จะรบกวนการดูดซึมของเกลือแร่ด้วยการไปจับกับแร่ธาตุไว้ในโครงสร้างที่ซับซ้อนของมันทำให้ไม่สามารถถูกดูดซึมได้ที่ลำไส้เล็ก ก็จะเดินทางมาถึงลำไส้ใหญ่ จากนั้นมันก็จะปลดปล่อยแร่ธาตเหล่านั้นออกมา เมื่อมีการ หมักโดยแบคทีเรียในลำไส้ได้กรดไขมันชนิดสายสั้น
ความเป็นกรดก็จะช่วยในการดูดซึมแร่ธาตุบางชนิด ได้แก่ แคลเซียมและแมกเนเซียม10 นอกจากนี้อาจด้วย กลไกที่ทำให้เกิดแรงดันออสโมติก (osmoticeffect)มันจะดึงน้ำเข้ามาช่วยในการละลายเกลือแร่ต่าง ๆ ได้ และแม้ว่าจะมีพรีไบโอติกจะช่วยเรื่องการดูดซึมแคลเซียม ซึ่งอาจส่งผลลดความเสี่ยงต่อกระดูกพรุน แต่ก็ยังคงต้องการการศึกษามาสนับสนุนมากกว่านี้

3. ผลต่อเมแทบอลิซึมของไขมัน
สำหรับการศึกษาเกี่ยวกับการช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) แต่ยังไม่มีข้อมูลมากนัก ส่วนเรื่องของการลดคอเลสเตอรอล (cholesterol) ก็ยังมีการศึกษาไม่มากนัก ส่วนใหญ่ยังเป็นการศึกษาในสัตว์ทดลอง อย่างไรก็ตามก็มีผู้อธิบายกลไกที่เป็นไปได้ คือ การที่จุลินทรีย์สุขภาพ เพิ่มจำนวนมากขึ้นก็จะช่วยย่อยสลายคอเลสเตอรอล และยับยั้งการดูดซึมผ่านผนังลำไส้ หรืออาจเนื่องจากผลจากกระบวนการหมักที่ได้กรดไขมันสายสั้นบางชนิด โดยเฉพาะกรดโพรพิโอนิก (proprionic acid) ซึ่งสามารถไปยับยั้งการสังเคราะห์ไขมันรวมทั้งคอเลสเตอรอล 7,9 อีกกลไกหนึ่งคือมีการปรับเปลี่ยนระดับกลูโคสและอินซูลิน เนื่องจากการสังเคราะห์ไขมันมีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงเมแทบอลิซึมของกลูโคสด้วย ดังนั้นพรีไบโอติกอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดแข็งซึ่งมีสาเหตุจากไขมัน โดยเฉพาะภาวะไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง (hypertriglyceridemia) และภาวะดื้อต่ออินซุลิน (insulin resistance) สาเหตุจากกินอาหารคาร์โบไฮเดรทสูง

ที่มา : http://thaimeiji.co.th/wizContent.asp?wizConID=26&txtmMenu_ID=7

 


พรีไบโอนี่
เม็ดเคี้ยว ผสมโอลิโกฟรุคโตส กลิ่นทุตตี้ ฟรุตตี้ ตรากิฟฟารีน

 
อินนูลิน
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอินนูลิน ชนิดผง ตรากิฟฟารีน
 


 

1 comment:

  1. ขออนุญาตฝากลิงค์นะคะ
    เกมส์คาสิโน แทงบาคาร่า, เล่นรูเล็ต , กำถั่ว และอื่นๆ อีกมากมาย
    ฝาก-ถอน ได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง บริการรวดเร็ว ประทับใจ ที่นี่เลยค่ะ
    https://www.111player.com

    ReplyDelete

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...