คุณเป็นคนหนึ่งที่กังวลกับปัญหาเหล่านี้หรือเปล่า?
ผิวคล้ำเสีย ...
ผิวหมองคล้ำ ไม่กระจ่างใส ...
ผิวซีด เหมือนคนอมโรค ...
ผิวไม่มีออร่า ดูไม่มีราศี ...
อยากมีผิวขาวอมชมพู ...
ผิวคล้ำเสีย ...
ผิวหมองคล้ำ ไม่กระจ่างใส ...
ผิวซีด เหมือนคนอมโรค ...
ผิวไม่มีออร่า ดูไม่มีราศี ...
อยากมีผิวขาวอมชมพู ...
Oxidized Glutathione กลูต้าไธโอนชนิดออกซิไดซ์
ให้ผิวกระจ่างใส ดูมีออร่า
ทำความรู้จักกับ "กลูต้าไธโอน"
กลูต้าไธโอน คือ ไตรเปปไทด์ (Tripeptide) ที่ประกอบไปด้วยกรดอะมิโน 3 ชนิด ได้แก่ ซีสเตอิน กลูตาเมต และ ไกลซีน ซึ่งร่างกายสามารถผลิตขึ้นได้เองตามธรรมชาติ โดยเฉพาะที่ตับกลูต้าไธโอนมีบทบาทสำคัญในการกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ จึงช่วยปกป้องเซลล์มิให้ถูกทำลายจากอนุมูลอิสระ ในร่างกายเราตามธรรมชาติจะมีกลูต้าไธโอนอยู่ 2 ประเภท คือ รีดิวซ์ กลูต้าไธโอน (Reduced Glutathione) และ ออกซิไดซ์ กลูต้าไธโอน (Oxidized Glutathione)
"ออกซิไดซ์ กลูต้าไธโอน" เหนือกว่า "รีดิวซ์ กลูต้าไธโอน" อย่างไร
ปัจจุบันมีผิลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพในท้องตลาดมากมายและมีจำนวนไม่น้อยที่มีส่วนผสมของ รีดิวซ์ กลูต้าไธโอน (Reduced Glutathione) ซึ่งกลูต้าไธโอนชนิดนี้ไม่คงตัวในน้ำและอุณหภูมิที่สูงขึ้น นั่นคือ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเคมี และเกิดแก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์ (Hydrogen Sulfide) หรือ ที่รู้จักกันในนาม "แก๊สไข่เน่า" ซึ่งทำให้เครื่องดื่มมีกลิ่นไม่พึงประสงค์ และกลิ่นนี้จะติดทนนานเป็นชั่วโมงหลังงจากการดื่ม ดังนั้นการใช้ออกซิไดซ์ กลูต้าไธโอน ซึ่งมีความคงตัวสูงในน้ำและอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้น แต่มีราคาที่สูงกว่าอันเนื่องมาจากกระบวนการผลิตที่ยุ่งยากซับซ้อนกว่า จึงเป็นทางออกที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาความไม่คงตัวของรีดิวซ์ กลูต้าไธโอน
กลไกยับยั้งการสร้างเม็ดสีผิวของกลูต้าไธโอน
เม็ดสี หรือ เมลานิน (Melanin) ถูกสังเคราะห์ขึ้นในเซลล์เมลาโนไซต์ (Melanocyte) ที่อยู่ในผิวชั้นเอพิเดอร์มิส (Epidermis) หรือ ชั้นหนังกำพร้า เมลานินที่ผิวมีอยู่ 2 ชนิด ได้แก่ ยูเมลานิน (Eumelanin) เป็นเม็ดสีผิวชนิดดำ/น้ำตาล และฟีโอเมลานิน (Pheomelanin) เป็นเม็ดสีผิวชนิดขาว/ชมพู สัดส่วนของเมลานินทั้งสองชนิดนี้เป็นตัวกำหนดสีผิวของเรา โดยคนเอเชียส่วนใหญ่จะมีปริมาณยูเมลานินมากกว่า จึงมีผิวที่คล้ำกว่าและชมพูน้อยกว่าคนในแถบทวีปยุโรปหรืออมริกานั่นเอง
จากรูป Melanin Generating Pathway ด้านล่าง กลูต้าไธโอนมีกลไกยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนส (Tyrosinase) ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสังเคราะห์เม็ดสีผิวยูเมลานิน (Eumelanin) หรือ เม็ดสีผิวสีดำ/น้ำตาล ดังนั้น กลูต้าไธโอนจึงมีฤทธิ์ในการยับยั้งการสร้างเม็ดสีผิวชนิดดำ/น้ำตาลด้วย
กลูต้าไธโอนให้ผิวขาวอมชมพูจริงหรือ?
จากภาพกลไกการยับยั้งเม็ดสีผิวของกลูต้าไธโอน จะเห็นได้ว่าเมื่อกลูต้าไธโอนยับยั้งแนวทางการผลิต ยูเมลานิน (Eumelanin) กลไกการสร้างเม็ดสีผิวก็จะเปลี่ยนทางมาผลิต ฟีโอเมลานิน (Pheomelanin) ซึ่งเป็นเม็ดสีขาว/ชมพูมากขึ้น ผิวจึงกระจ่างใสอมชมพู แลดูสุขภาพดี
อาหารผิว ... ไม่ใช่แค่กลูต้าไธโอน
อยากผิวสวยแบบเบ็ดเสร็จ ... ฟังทางนี้ นอกจากการรับประทานกลูต้าไธโอนที่ช่วยยับยั้งการสร้างเม็ดสีผิวและให้ผิวสวยกระจ่างใสขึ้นแล้ว การรับประทานอาหารผิวอื่นๆก็สำคัญเช่นกัน เช่น วิตามินซี ที่นอกจากจะเป็นสารต้านอนุมูลอิสระชั้นดีแล้ว ยังช่วยทำให้การไหลเวียนเลือดดีขึ้น ผิวจึงได้รับสารอาหารและออกซิเจนมากขึ้น และยังมีงานวิจัยที่พบว่าวิตามินซีมีส่วนช่วยในการทำงานของกลูต้าไธโอนอีกด้วย วิตามีนอี ก็เป็นอาหารผิวอีกชนิดหนึ่งที่เป็นที่รู้จักกันดีว่ามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและทำให้ผิวนุ่มชุ่มชื้น นอกจากนี้เคอร์คูมินอยด์ (Curcuminoids) สารสกัดจากขมิ้นก็เป็นสารที่นิยมนำมาใช้บำรุงผิวกันอย่างแพร่หลาย เพราะมีคุณสมบัติช่วยลดการอักเสบของผิวหนัง ต้านอนุมูลอิสระ ต้านเชื้อราและแบคทีเรีย ซึ่งเป็นที่มาของของโรคผิวหนังชนิดต่างๆได้ดีอีกด้วย
เกร็ดน่ารู้ ...
ปริมาณกลูต้าไธโอนสูงที่สุดต่อ 1 หน่วยบริโภค ที่ อย. (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา) รับรอง คือ 250 มิลลิกรัม
1. Nattavuth A., Pravit A. Gluthathione as an oral whitening agent. Journal of Dermatology Treatment.2010; Early online, 1-6
2. Glutathione Depletion Increases Tyrosinase Activity in Human Melanoma Cells. Journal of Investigative Dermatology (1993) 101, 871-874
3. Villarama CD, Maibach HI. Glutathione as a Depigmenting agent: an overview. Int J Cosmet Sci.2005 Jun; 27(3): 147-53
4. Ortonne JO, Bissett DL. Latest insights into skin hyperpigmentation. J Invest Dermatol. 2008; 13: 10-14
5. Vitamin C, University of Maryland Medical Center, http://www.umm.edu/altmed/articles/vitamin-c-000339.htm. 10/05/2012
6. Vitamin E, University of Maryland Medical Center, http://www.umm.edu/altmed/articles/002406.htm. 10/05/2012
7. Banerjee A, Nigam SS. Antimicrobial efficacy of the essential oil of Curcuma longa. Indian J Med Res 1978; 68: 864-6
8. Curcuminoids. องค์การเภสัชกรรม,http://202.129.59.198/curmin/index.asp.15/05/2012
9. องค์การอาหารและยา. http://elib.fda.moph.go.th. 20/05/2012
ที่มา : โบรชัวร์ Oxidized Glutathione
This looks interesting, will try Curcumin as my beauty regimen
ReplyDelete