ภาวะกระดูกพรุน ... ความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหัก อันเกิดจากความผิดปกติของกระดูกที่ความแข็งแรงของเนื้อกระดูกลดลง การสะสมแคลเซียมแต่เนิ่นๆ ตั้งแต่วัยเด็กถึงวัย 20 ตอนปลายก็จะช่วยให้คุณมีโครงสร้างของกระดูกที่แข็งแรง ไม่แตกหักได้ง่ายค่ะ
Q: ดิฉันชื่อหนูนาค่ะ อายุ 27 ปี ชอบดื่มน้ำอัดลมเป็นที่สุด เรียกว่าดื่มแทนน้ำเปล่าได้เลยค่ะ แต่เมื่อไม่นานมานี้ คุณแม่ของดิฉันเป็นโรคกระดูกพรุน จึงกลัวว่าตัวเองจะมีโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุนตามไปด้วย เพราะโดยส่วนตัวไม่ชอบดื่มนมเลยค่ะ และหยุดดื่มนมมานานมากแล้ว จึงขอถามว่าดิฉันจะรับประทานแคลเซียมเสริมได้หรือไม่ค่ะ? และควรเริ่มรับประทานปริมาณเท่าไรต่อวันดีค่ะ?
A : ก่อนอื่นเรามารู้จักภาวะกระดูกพรุน หรือ ภาวะกระดูกบางกันก่อนนะคะ ภาวะกระดูกพรุน คือ ภาวะที่เนื้อกระดูกมีปริมาณลดลง และมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในส่งผลให้กระดูกบางลง จึงมีโอกาสที่จะเกิดกระดูกหักได้ง่ายขึ้น มักพบมากที่กระดูกข้อมือ กระดูกสะโพก และ กระดูกสันหลังค่ะ โดยปกติปริมาณเนื้อกระดูกจะค่อยๆเพิ่มขึ้นจนถึงระดับสูงสุดเมื่ออายุประมาณ 30-35 ปี หลังจากนั้นเนื้อกระดูกจะลดลงอย่างช้าๆ ในผู้หญิงที่ถึงวัยหมดประจำเดือน ปริมาณเนื้อกระดูกจะลดลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจน หรือ ฮอร์โมนเพศหญิงลดลง ทำให้ผู้หญิงสูญเสียเนื้อกระดูกมากกว่าผู้ชายถึง 2-3 เท่า!!! ผู้หญิงในวัยนี้จึงจำเป็นต้องเสริมแคลเซียมเพื่อลดการเสื่อมสลายของเนื้อกระดูกค่ะ จะเห็นได้ว่าทุกคนมีโอกาสที่จะเป็นโรคกระดูกพรุนด้วยกันได้ทั้งนั้นโดยเฉพาะผู้หญิง ดังนั้นการป้องกันแต่เนิ่นๆด้วยการสะสมแคลเซียมตั้งแต่วัยเด็กไปจนถึงวัย 20 ตอนต้น หรือ ตอนปลายก็ยังไม่สายนะคะ เริ่มทันทีตั้งแต่เดี๋ยวนี้! เพราะการป้องกันดีกว่า ถูกกว่า และ ง่ายกว่าการรักษาค่ะ
Photo : http://www.drugs.com |
คุณมีพฤติกรรมเสี่ยงที่จะมีภาวะกระดูกพรุนหรือไม่?
- วัยที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะตั้งแต่อายุ 65 ปีขึ้นไป
- ขาดฮอร์โมนเพศ เช่น หมดประจำเดือนถาวร กินยาต้านฮอร์โมนเพศ เพื่อรักษาโรคมะเร็งเต้านม
- มีประวัติสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน
- ขาดวิตามินและแร่ธาตุที่บำรุงในการสร้างกระดูก ได้แก่ โปรตีน แคลเซียม แมกนีเซียม และ วิตามินดี
- รับประทานแคลเซียมปริมาณน้อยเกินไปในวัยเจริญเติบโต (ดื่มนมน้อยกว่า 3 แก้ว/วัน) และขาดการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัย
- รับประทานยาบางชนิดในปริมาณสูงต่อเนื่องเป็นประจำ ส่งผลให้มวลกระดูกลดลง เช่น ยาลดกรดเคลือบกระเพาะ (ที่ลดการดูดซึมแคลเซียม) ฮอร์โมนไทรอยด์ ยากลุ่มสเตียรอยด์ เคมีบำบัดโรคมะเร็ง เป็นต้น
- สูบบุหรี่หรือดื่มสุรารวมทั้งเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์จัด เนื่องจากมีสารพิษทำลายเซลล์รังไข่และอัณฑะ ส่งผลให้ฮอร์โมนเพศลดลง
- ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนบ่อย เช่น กาแฟ ชา น้ำอัดลม และ เครื่องดื่มชูกำลังบางชนิด เพราะคาเฟอีนเพิ่มการขับแคลเซียมทางปัสสาวะทำให้ปริมาณแคลเซียมในร่างกายลดลง
อย่างไรก็ตาม ... การได้รับแคลเซียมเพียงอย่างเดียวคงไม่เพียงพอต่อการป้องกันภาวะกระดูกพรุนได้!!! การได้รับแมกนีเซียมเสริมก็เป็นส่วนสำคัญเช่นกันค่ะ เพราะ แมกนีเซียมทำงานร่วมกับแคลเซียมในการเสริมความแข็งแรงของกระดูก จึงควรรับประทานแมกนีเซียมในอัตราส่วน 1:2 กับแคลเซียม ส่วนวิตามินดีก็จะช่วยเพิ่มการดูดซึมจากแคลเซียมได้อีกด้วยค่ะ ทั้งนี้ควรร่วมกับการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ งดบุหรี่ และ เครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ และ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอด้วยนะคะ
คนที่เป็นโรคกระดูกพรุนมักจะไม่แสดงอาการใดๆเลย แต่อาการที่เกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเนื้อกระดูกมีปริมาณลดลงไปมาก จนกระทั่งกระดูกขาดความแข็งแรงทนทาน มารู้ตัวอีกทีก็ตอนที่คุณพบว่า กระดูกของคุณหักเสียแล้ว
รู้อย่างนี้แล้วจะช้าอยู่ใย ... รีบเสริมแคลเซียมให้กับร่างกายตอนนี้ก็ยังทัน เพราะ ... "พรุ่งนี้ไม่สายเกินไป ถ้าเริ่มตั้งแต่วันนี้"
ที่มา : คอลัมน์ Beaty Chatroom; วารสารเส้นขอบฟ้า ฉบับประจำเดือนสิงหาคม 2555
Cal-D-MAG
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแคลเซียม ผสมวิตามินดี 3, ซี, อี, แมกนีเซียม, สังกะสีและทองแดง ชนิดเม็ด ตรา กิฟฟารีน
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแคลเซียม ผสมวิตามินดี 3, ซี, อี, แมกนีเซียม, สังกะสีและทองแดง ชนิดเม็ด ตรา กิฟฟารีน
Cal-D-MAG 600
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแคลเซียม ผสมแมกนีเซียม, วิตามินซี, สังกะสี, แมงกานีส, ทองแดง, วิตามินอี, วิตามินดี 3 ชนิดเม็ด ตรา กิฟฟารีน
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแคลเซียม ผสมแมกนีเซียม, วิตามินซี, สังกะสี, แมงกานีส, ทองแดง, วิตามินอี, วิตามินดี 3 ชนิดเม็ด ตรา กิฟฟารีน
No comments:
Post a Comment